"เครื่องเสียงไทย.... เกิดยาก"
โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ
คุณอาจไม่เชื่อ ปัจจุบันเครื่องเสียงไทยก้าวไปไกลแค่ไหน ตัวอย่าง
- ปรีแอมป์ตัวละครื่งล้านบาท
-เพาเวอร์แอมป์โมโน ตัวละ 1 ล้านบาท
-สายไฟac เส้นละ 4 แสนบาท
-สายเสียงบาลานท์ คู่ละ 4 แสนบาท
-ลำโพงวางพื้นคู่ล 1 ล้านบาท
-ลำโพงวางหิ้ง 4 นิ้ว 2 ทาง 170,000 บาท
-accessories อีกเพียบ อย่างตัวรองใต้เครื่อง ชุดละ แสนกว่าบาท(4 ตัว)
- หูฟังin-ear ThreeFriends ที่เสียง/มิติ กินขาดของนอกราคา 3- 6 เท่า
- ฯลฯ
พูดง่ายๆ เครื่องเสียงไทย ก้าวผ่านคำว่า " เครื่องบ้านหม้อ" ไปไกลแล้ว แต่ทำไมกลับไม่เป็นที่แพร่หลาย ทั้งๆที่หลายตัว ถูกกว่า(มาก) แถม ดีกว่าของนอก (มาก)
ที่มาของเครื่องเสียงไทย
1. เพราะของนอก ราคาสูงมาก นักคิด นักทำ บ้านเราคิดว่า น่าจะทำได้ถูกกว่ามาก และผลกำไรงาม(แต่พวกเขาลืมคิดเรื่องการตลาดที่ซับซ้อน)
2. พวกเขาลองของนอกแล้ว ไม่ผ่าน ยังไม่ถูกใจ และเชื่อว่า ตัวเองทำได้ดีกว่า จึงทำออกมาขาย เพื่่อพิสูจน์ฝีมือ (พวกร้อนวิชา)
3. พวกขอรวย (เจ้ง ? )ด้วยคน พวกนี้ใครออกอะไรมาไม่ว่าของนอกของใน ก้อปปี้ทำออกมาขายแข่ง สร้างความวุ่นวาย ความเสื่อมให้แก่วงการ เอาง่ายสุด สั่งของจีนถูกๆ ไร้การทดสอบทดลองใดๆทั้งสิ้น ปะยี่ห้อตัวเอง เอามาป่วนตลาดเล่น พวกนี้โดยเฉพาะพวกเครื่องเคียง( accessories)
เป็นขยะเต็มตลาด
อุปสรรคของเครื่องเสียงไทยทำ
1. ข้อนี้สำคัญที่สุด คือ คนทำ " ฟังไม่เป็น" ฟังอย่างผิดๆ จึงทำออกมาแบบผิดๆ อาจขายได้บ้างกับกลุ่มสาวกของตนเอง แต่ไม่ช้าก็หมดคนซื้อ หรือความไม่ดีจริงของตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ ปรากฏออกมาสุดท้าย จบข่าว แย่หน่อยที่พวกเขามักมีอัตตาตัวตนสูง ไม่สนใจคำวิจารณ์ของใคร ข้าแน่ ข้าถูกคนเดียว ถ้าตระกูลรวย ก็คงอยู่ได้นาน จนกว่าตัวเองจะเซ็ง ก็เลิกไป
2. ทำออกมา ต่อให้ดีเลอเลิศแค่ไหน ถ้าตัวdealer ร้านค้าปลีก ไม่เชียร์ให้ ก็เกิดยาก เผลอๆถ้าไปขัดผลประโยชน์ของร้าน ที่ตัดสินค้าบางรุ่นจากผู้นำเข้าไว้ หรือเป็นหุ้นส่วนกันลับๆมาก่อน หน้าใหม่ไทยแท้เข้าไป อย่างดีก็ฝากขายเป็นปู่เฝ้าร้าน อย่างเลวก็เอาไปฆ่า ผลประโยชน์ ย่อมมาก่อน อย่างเลวสุด จำใจขายเพราะกระแสแรง แต่เบี้ยวเงินคนทำส่ง
3.ของไทยขายยากเหนื่อยของนอกขายง่ายกว่า ยิ่งได้แรงเชียร์จากสื่อต่างประเทศ( ผลประโยชน์ล้วนๆ) ยิ่งอ้างและขายง่ายแถมได้กำไรมากกว่ามาก พูดง่ายๆ ร้านขี้เกียจมานั่งสาธิต ยกเข้ายกออก ชูของนอกขึ้นหิ้ง ของไทยซุกใต้โต๊ะ ไม่ถามไม่พูดถึงดังเมื่อไร เลื่ยงไม่ได้ ก็จำใจขายตามน้ำ
4. ของนอก ร้านค้ายอมซื้อมาลอง มาโชว์ มาสาธิต แต่ ของไทย ชุดสาธิตถ้าไม่ถูกกดราคาต่ำเตี้ย ก็ต้อง ฟรี ขายได้เมื่อไรจึงจะสั่ง ให้คนทำส่งให้ แต่ร้านเก็บเงินจากผู้ซื้อแล้ว และได้เครดิตจากคนทำไปอีก1-3 เดีอนค่อยจ่าย เอาเงินไปหมุนฟรี
5. ถ้าคนทำส่งหลายร้าน ต้องระวังให้หนักเรื่องร้านตัดราคาขายกันเองสุดท้าย ไม่มีใครอยากเอาไปเชียร์ขาย
( สรุป )
ก่อนหาเรื่องเจ็บตัว คิดทำธุรกิจเครื่องเสียงไทย (ไล่จากสำคัญน้อยไปมาก )
1.ต้อง ฟังเก่ง ฟังถูกต้อง ใจเปิดกว้าง
2. ต้องมีความรู้ ลึกซี้งจริง
3. ต้องมีทุน เงินเย็น( รวย)
4. ต้องมีโชว์รูมเป็นของตัวเอง เพื่อการสาธิตอย่างถูกต้อง และไว้แก้ข้อกล่าวหา (ถูกเผา วางยา) และไว้ ทดสอบพัฒนาสินค้า เชิญนักวิจารณ์มาลองฟัง
5. ต้องมองให้เห็น ข้อได้เปรียบของ สินค้าทำในนี้ ( ราคา/ การอัพเกรด /การบริการ ซ่อมแซม )
6.เอาผลกำไรที่ต้องแบ่งให้ร้านค้า มาเป็นค่าโชว์รูมไม่ต้องปวดหัวกับการแข่งตัดราคากันเองของดีลเลอร์ (ทะเลาะกัน)
( ขอให้โชคดี เจอแต่คนดี )